염치 없는줄 압니다만, 해석 부탁 드립니다. - 거래처 사장님이 내주신 숙제라...흑흑..
เป็นเรื่องไม่ยากเลย ที่จะซื้อแฟรนไชส์ ไม่ให้ผิดหวัง แต่ปัญหาที่สำคัญของคนส่วนใหญ่ ก็คือ ไม่ลงสนามสำรวจของจริง นี่ข้อผิดพลาดที่ไม่ทำการบ้าน จึงเกิดผลเสียหายตามมาอย่างที่เราเห็นกัน แต่ที่จริงแล้ว ถ้าคุณได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำนี้ โดยไม่ละเลย เชื่อมั่นได้ว่า คุณจะได้คนพบผู้ร่วมธุรกิจที่ดี และไม่มีทางถูกหลอกได้อย่างแน่นอน
สมจิตร ลิขิตสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัทแฟรนไชส์โฟกัส ผู้ผลิตนิตยสาร และจัดงานแสดงบูท โอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ได้เสนอข้อแนะนำต่อไปนี้จะเรียงลำดับ จากสิ่งคุณควรยึดปฏิบัติ เป็นอันดับแรกก่อน
อันดับที่ 1 สำรวจร้าน
ที่จริงแล้ว การตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ หรือเลือกซื้อธุรกิจใดๆ เพียงคุณได้ลงมือปฏิบัติตามข้อแรก ข้อนี้เพียงข้อเดียว ก็ช่วยคุณได้แล้ว ถ้าคุณคิดว่ากำลังจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ใดก็ตาม คุณจำเป็นจะต้องรู้ว่า ร้านแฟรนไชสซี่ หรือผู้ที่ซื้อธุรกิจนี้ก่อนหน้านี้ เป็นใคร และอยู่ที่ไหนกันบ้าง คุณจะต้องขอหรือหารายชื่อมาให้ได้ และลงสนามสำรวจร้านจริงที่มีอยู่แล้วว่า พวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง และร้านเหล่านั้นทำกำไรได้จริงหรือไม่
ถ้าแฟรนไชส์ที่ดีจริง จะต้องไม่ปิดบัง หรือกีดกันไม่ให้คุณไปรู้จักร้านเหล่านั้น เขาจะต้องเต็มใจให้คุณศึกษาให้มั่นใจเสียก่อน ถึงข้อดี-ข้อเสีย เพื่อให้คุณมีความพร้อมเต็มที่ที่จะทำธุรกิจนั้นให้สำเร็จ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณต้องลงสนามสำรวจร้านให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ ไม่ใช่ไปคุยแค่ 1 แห่ง คุณก็มาสรุปแล้วว่า เป็นธุรกิจที่ดีหรือไม่ดี สมมุติว่า แฟรนไชส์ที่คุณสนใจ มีร้านแฟรนไชซีเปิดไปก่อนแล้ว 10 แห่ง คุณก็ควรไปสำรวจให้ได้อย่างน้อย ครึ่งหนึ่ง คือ 5 แห่งเป็นต้น ประเด็นสำคัญที่คุณจะนำไปใช้ในการตัดสินใจก็คือ ถ้าร้านที่คุณไปพบมานั้น ดีเกินกว่าครึ่งก็แปลว่าใช้ได้ แต่ถ้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยดีนัก คุณก็ต้องนำมาคิดกันใหม่
การออกเยี่ยมร้าน เป็นการตรวจเช็คที่ดีที่สุด ที่คุณละเลยไม่ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งถ้าคุณลงมือแล้วคุณจะพบคำตอบที่จริงที่สุด และดีที่สุดได้ด้วยตัวของคุณเอง
ในการทำวิจัยร้านที่มีอยู่แล้วนี้ อาจสร้างความลำบากใจให้คุณอยู่บ้าง ที่ไม่พบตัวเจ้าของร้าน หรือเจ้าของร้านอาจไม่เต็มใจที่จะพูดคุยกับคุณ แต่คุณก็ต้องมีความพยายามหาวิธีการหาข้อมูลที่ต้องการ แต่ถ้าคุณได้เจอคนที่ชอบพูดคุยเกี่ยวกับความสำเร็จของตัวเอง หรือบางคนไม่พอใจบริษัทแม่ พวกเขาก็จะยินดีพูดคุยกับคุณ
อย่างไรก็ตาม มีคำถามสำหรับแฟรนไชซี่ที่คุณควรถาม เพื่อให้คุณ ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ คือ
การลงทุนธุรกิจนี้ คุณใช้ไปเท่าไหร่ ตรงตามที่บริษัทแม่บอกเอาไว้หรือไม่ ?
สินค้าที่คุณขาย ใครเป็นกลุ่มลูกค้า ?
คุณภาพสินค้าที่ขายนี้ ดีไหม ลูกค้านิยมไหม ?
คุณมีลูกค้าต่อวัน ประมาณเท่าไหร่ ?
สินค้าที่บริษัทแม่จัดให้ ส่งทันไหม และเพียงพอหรือไม่ ?
คุณได้รับการอบรมจากบริษัทแม่บ่อยแค่ไหน และอบรมในเรื่องอะไรบ้าง วิธีการอบรมเป็นอย่างไร ?
อะไรคือปัญหาของธุรกิจนี้ ?
บริษัทแม่ มีมนุษยสัมพันธ์ดีไหม ?
คุณพอใจกับแผนการตลาดที่บริษัทแม่ทำให้หรือไม่ และได้ผลดีไหม?
บริษัทเม่ มีการจัดทำคู่มือการทำธุรกิจหรือไม่ และคู่มือนั้นใช่ได้หรือเปล่า?
สินค้าที่ขาย ขายได้ตลอดทั้งปีไหม หรือขายดีเฉพาะบางช่วง ?
คุณเคยมีเรื่องขัดแย้งกับบริษัทแม่หรือไม่ ถ้ามีเป็นเรื่องอะไร และมีทางออกในการแก้ปัญหากันอย่างไร?
ถ้าให้คุณเริ่มใหม่ คุณจะซื้อแฟรนไชส์นี้อีกหรือไม่ เพราะอะไร ?
คุณรู้ไหมว่า ร้านไหนทำรายได้ดีที่สุด และอยู่ที่ไหน ?
คุณทราบไหมว่า มีร้านไหนที่ปิดตัวไปบ้าง เพราะอะไร และอยู่ที่ไหน ?
ลักษณะนิสัยของเจ้าของหรือผู้บริหารแฟรนไชส์นี้ เป็นอย่างไร ?
คุณต้องจ่ายเงิน ให้กับบริษัทแม่ เป็นค่าอะไรบ้าง และจ่ายด้วยวิธีการแบบไหน ?
ร้านของคุณทำกำไรได้หรือไม่ ?
การหาคำตอบว่าร้านได้กำไรเท่าไหร่ คงเป็นเรื่องยากที่จะได้รับคำตอบ แต่ก็เป็นข้อมูลสำคัญยิ่งที่คุณต้องมี ที่จะนำมาใข้ในการตัดสินใจ ถึงแม้ว่าคุณไม่รู้ข้อมูลนี้โดยตรง แต่คุณก็จะสามารถพอจะเมินตัวเลขได้จากการสังเกตุการณ์
เช่น สมมุติว่า เป็นร้านก๋วยเตี๋ยว คุณอาจมีการกดตัวเลขคนเข้าร้าน โดยจ้างเด็กไปแอบนับก็ได้ ถ้าคุณไม่ทำเอง แต่การนับคุณต้อง ใช้ข้อมูลทั้งช่วงวันปกติ และวันเสาร์-อาทิตย์ จากนั้นคุณต้องเฉลี่ยการใช้จ่ายต่อ 1 คนที่เข้าร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเฉลี่ยต่อคนอาจจะจ่ายที่ 80 บาท/คน คุณก็มาคำนวณ เป็นรายได้ ต่อวัน แต่ต่อเดือนออกมาได้ ส่วนตัวเลขค่าใช้จ่าย เจ้าของร้านอาจจะให้คุณได้ ทีนี้คุณก็จะสามารถประเมินรายได้ต่อเดือนของธุรกิจที่คุณสนใจนั้นออกมาได้ และประเมินตัวเลขออกมาได้ว่า จริงๆแล้วเดือนหนึ่งคุณอาจจะเหลือกี่บาท หรืออาจขาดทุนประมาณกี่บาท
ไม่ยกเลย ที่จะหาข้อมูล ถ้าคุณได้ลงมือทำแบบนี้แล้ว ที่คุณสามารถตัดสินใจที่ถูกต้องได้ด้วยตัวคุณเอง อย่างชนิดที่ไม่มีทางที่ใครจะมาหลอกคุณได้อย่างแน่นอน
อันดับที่ 2 สำรวจตัวเอง
สิ่งที่ผิดมากที่สุดในเรื่องของแฟรนไชส์ก็คือ คนส่วนมากเข้าใจผิดว่า การซื้อแฟรนไชส์ เป็นการเอาเงินมาลงทุน แล้วบริษัทแม่จะต้องช่วยทำให้กิจการนั้นจนได้ผลกำไร โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์คอยรับผลตอบแทน
นี่เป็นเรื่องที่เข้าใจกันมากจริงๆ ทำให้คนตกเป็นเยื่อ ของการระดมเงิน ซึ่งไม่ใช่วิธีการของแฟรนไชส์เลย
คุณต้องจำไว้ว่า การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น คุณต้องลงมือทำเอง หรือบริหารเองเท่านั้น ธุรกิจจึงจะมีกำไร หลักของแฟรนไชส์ก็คือ การที่กิจการหนึ่งเดยประสบความสำเร็จมาแล้ว และขายระบบงานที่ประสบความสำดเร็จนี้ให้คนอื่นทำบ้าง ดังนั้นการจะทำแฟรนไชส์ให้ได้เงิน จึงขึ้นกับการทำงานตามระบบงาน โดยมีบริษัทแม่เป็นผู้สนับสนุน
ดังนั้น ข้อสำคัญลำดับที่ 2 นี้ก็คือการสำรวจตัวเองว่า คุณมีความพร้อม ความตั้งใจที่ทำธุรกิจนั้นๆหรือไม่ ถ้าคุณไม่อยากทำกิจการนั้นจริง ก็ผิดทางที่คุณจะนำเงินมาลงทุน
อันดับ 3 สำรวจบริษัท
แต่คุณได้ผ่าน 2 ขั้นตอนขั้นต้นมาแล้ว อันดับ 3 ที่คุณก็จำเป็นต้องศึกษา คือ บริษัทแม่ว่า มีตัวตนจริงหรือไม่ กิจการที่อาศัยเรื่องของแฟรนไชส์มาระดมเงิน มีเกิดขึ้นเสมอ กิจการเหล่านั้น มมักเพิ่งก่อตั้งขึ้นมาไม่นาน บางรายไม่มีตัวตนด้วยซ้ำ วิธีการเลือกบริษัท แฟรนไชส์ที่ดี ที่คุณสมควรเข้าร่วมธุรกิจด้วย ควรมีลักษณะดังนี้
-มุ่งหวังเป็นอันดับ 1
แฟรนไชส์ที่คุณเลือกนั้น ควรมีเป้าหมาย ต้องการเป็นผู้นำการตลาด ซึ่งมันจะทำให้คุณได้ประโยชน์ไปด้วย เพราะบริษัทเหล่านี้จะกระตือรือร้นในการทำการตลาด การโฆษณา เพื่อทำให้ได้ส่วนแบ่งการขายสูงสุดของประเทศ โดยมีคุณเป็นช่องทางที่จะช่วยให้ถึงเป้า
-ความชำนาญในธุรกิจ
ความชำนาญในธุรกิจ เป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของคุณด้วย เพราะการซื้อแฟรนไชส์ เป็นการซื้อระบบที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นกิจการที่จะมาขายแฟรนไชส์ได้ ควรต้องช่ำชองในธุรกิจนั้นๆมากพอ จะเห็นว่ามีโรงงานหลายแห่งอยากจะทำแฟรนไชส์ เพื่อเป็นที่ระบายสินค้าของโรงงาน หรือมุ่งหวังยอดขายสูงสุด แม้กิจการนั้นอาจทำธุรกิจโรงงานมายาวนานนับ 100 ปีก็ตาม แต่อาจไม่ได้มีความชำนาญในเปิดร้านค้าปลีกเลย คุณคิดว่า แฟรนไชส์ลักษณะนี้จะสามารถให้คำแนะนำ และมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณได้ได้หรือไม่ และนี่เป็นความเสี่ยงของคุณ ถ้าคุณซื้อแฟรนไชส์นั้น
-อายุธุรกิจ
เพิ่งเปิดร้านมา 1 ปี หรือ 2 ปี ก็ขายแฟรนไชส์แล้ว คือรายชื่อที่คุณควรโยนทิ้งไปเลย เพราะ กิจการที่จะขายแฟรนไชส์ควรมีอายุแก่พอ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะจะทำให้คุณได้รับความรู้จากลองผิด-ลองถูกมาแล้ว นอกจากนี้แล้ว บริษัทที่ขายแฟรนไชส์ควรจะมีระยะเวลาในการขยายร้านสาขาของตัวเอง มาระดับหนึ่งก่อน เพื่อเป็นบทเรียนในการบริหารร้านแฟรนไชส์ได้จริงๆ
-มีอำนาจในการต่อรอง
บริษัทผู้ขายแฟรนไชส์ที่ดี ควรมีอำนาจในการต่อรองได้ดีพอสมควร ที่จะเอื้อประโยชน์ในสิ่งที่คุณทำไม่ได้ อย่างเช่น การเช่าสถานที่ หรือส่วนลดราคาสินค้ากับซัพพลายเออร์ และถ้าถึงขนาดมีเครดิตในการช่วยเหลือคุณในกู้เงินธนาคารก็จะดีมาก บริษัทที่คุณเลือกนั้นควรเป็นบริษัทความน่าเชื่อถือในวงการธุรกิจพอสมควร
-ผู้บริหารมีความสามารถ
ผู้บริหารของบริษัทแม่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของคุณเป็นอย่างสูง ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องการผู้บริหารที่มีความชาญฉลาด มีคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีความสามารถในเรื่องการจัดการร้านสาขา มีธุรกิจจำนวนมาก ขายแฟรนไชส์ได้มากมาย จนเจ้าของงง ไม่รู้ว่าจะบริหารมันต่ออย่างไร สุดท้ายก็ต้องจบไปตามๆกัน คุณอาจจะต้องรู้ประวัติของผู้บริหารบ้างว่า มีประวิติส่วนตัวเป็นอย่างไร ทั้งด้านลักษณะนิสัย และความสามารถในการบริหารธุรกิจ คุณเชื่อมั๊ยว่า แฟรนไชส์ที่ล้มเหลว ส่วนใหญ่ มาจากผู้บริหารเอาเงินไปใช้ผิดประเภท หรือบริหารร้านสาขาไม่เป็น หรือ บริหารกิจการผิดพลาด หรือมีเป้าหมายในการระดมเงิน อย่างที่เราประสบกัน
-มีทีมงานสนับสนุน
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ใด คุณต้องมั่นใจว่า มีทีมงานสนับสนุนร้านเครือข่าย โดยได้รู้ว่า จะมีใครทำหน้าที่อะไรบ้าง อย่างไร คุณจะต้องมั่นใจได้ว่า ทีมงานนั้น มีมนุยสัมพันธุ์ที่ดี มีความพร้อม และมีความเป็นมืออาชีพ
-สินค้ามีตลาด
แฟรนไชส์ที่คุณเลือกนั้น ต้องขายสินค้าที่มีลูกค้านิยมมากพอ และสามารถสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่สินค้าที่ขายได้เฉพาะบางช่วงเวลา ไม่เป็นสินค้าแฟชั่น หรือขายสินค้าที่มีคู่แข่งมากเกินไป
-มีระบบ
แฟรนไชส์ที่ดี ควรมีระบบงานที่ดี หรืออย่างน้อยต้องมีโปรแกรมการอบรม เพื่อถ่ายทอดธุรกิจมาสู่คุณอย่างอย่างง่าย และได้ผล มีการจัดทำคู่มือการทำงาน ในด้านต่างๆ ที่ช่วยให้คุณใช้บริหารงานได้ และมีสายด่วนให้คุณปรึกษาได้ และถ้าแฟรนไชส์ใดไม่มีการจัดทำคู่มือ หรือทำไว้เพียงไม่กี่แผ่น ก็แสดงว่าบริษัทนั้นยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องแฟรนไชส์เลย
-เป็นเจ้าสิทธิ์ ที่ถูกต้อง
ก่อนที่คุณจะลงลายเซ็นต์ คุณต้องแน่ใจว่า บริษัทนั้นเป็นเจ้าของสิทธิ์อย่างถูกต้อง ในกรณีที่ดิจการนั้นซื้อสินค้าจากที่อื่นมาอีกต่อหนึ่ง เช่นร้านสินค้าแบรนด์แนมต่างๆ ที่คุณควรเห็นหลักฐานว่า กิจการนั้นได้รับการอนุญาตการเป็นตัวแทนที่ถูกต้อง ในระยะเวลาใด เพราะถ้าคุณซื้อแฟรนไชส์จากผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิ์ที่แท้จริงปัญหายุ่งยากจะตามมา
อันดับ 4 ตรวจสถานะของบริษัท
ไม่ยากที่คุณจะหาข้อมูลเกี่ยวกับฐานะของบริษัทที่คุณต้องการซื้อแฟรนไชส์ คุณสามารถที่จะหาข้อมูลของบริษัทที่คุณต้องการซื้อแฟรนไชส์ได้อย่างง่ายดาย จากการจดทะเบียนบริษัท จากเวปของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อดูว่า บริษัทแฟรนไชส์ที่คุณสนใจ มีใครบ้างเป็นผู้ถือหุ้น ใครเป็นเจ้าของ เจ้าของก็คือผู้ที่เซ็นเอกสารต่างๆ ของทางราชการ และของธนาคารนั่นเอง และทุกปี ทุกบริษัทต้องมีการส่งงบดุล และงบกำไร-ขาดทุน (ยกเว้นกิจการประเภทที่ไม่ต้องจ่ายภาษี เช่น สถานศึกษา เป็นต้น) นี่เป็นหลักฐานที่ดี ที่คุณจะรู้สภาพว่า บริษัทแฟรนไชส์ที่คุณกำลังจะเลือก มีฐานะทางการเงินอย่างไร มีผลการดำเนินงานอย่างไร
อาจมีคนแย้งว่า งบที่ส่งไปนั้น ไม่ใช่ตัวเลขที่เป็นจริง เพราะหลายกิจการมีการเลี่ยงภาษี แต่ข้อมูลเหล่านี้มีหลายส่วนที่บ่งบอกถึงสถานะได้ เช่น จำนวนทรัพย์สิ
สมจิตร ลิขิตสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัทแฟรนไชส์โฟกัส ผู้ผลิตนิตยสาร และจัดงานแสดงบูท โอกาสธุรกิจ&แฟรนไชส์ ได้เสนอข้อแนะนำต่อไปนี้จะเรียงลำดับ จากสิ่งคุณควรยึดปฏิบัติ เป็นอันดับแรกก่อน
อันดับที่ 1 สำรวจร้าน
ที่จริงแล้ว การตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ หรือเลือกซื้อธุรกิจใดๆ เพียงคุณได้ลงมือปฏิบัติตามข้อแรก ข้อนี้เพียงข้อเดียว ก็ช่วยคุณได้แล้ว ถ้าคุณคิดว่ากำลังจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ใดก็ตาม คุณจำเป็นจะต้องรู้ว่า ร้านแฟรนไชสซี่ หรือผู้ที่ซื้อธุรกิจนี้ก่อนหน้านี้ เป็นใคร และอยู่ที่ไหนกันบ้าง คุณจะต้องขอหรือหารายชื่อมาให้ได้ และลงสนามสำรวจร้านจริงที่มีอยู่แล้วว่า พวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง และร้านเหล่านั้นทำกำไรได้จริงหรือไม่
ถ้าแฟรนไชส์ที่ดีจริง จะต้องไม่ปิดบัง หรือกีดกันไม่ให้คุณไปรู้จักร้านเหล่านั้น เขาจะต้องเต็มใจให้คุณศึกษาให้มั่นใจเสียก่อน ถึงข้อดี-ข้อเสีย เพื่อให้คุณมีความพร้อมเต็มที่ที่จะทำธุรกิจนั้นให้สำเร็จ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณต้องลงสนามสำรวจร้านให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ ไม่ใช่ไปคุยแค่ 1 แห่ง คุณก็มาสรุปแล้วว่า เป็นธุรกิจที่ดีหรือไม่ดี สมมุติว่า แฟรนไชส์ที่คุณสนใจ มีร้านแฟรนไชซีเปิดไปก่อนแล้ว 10 แห่ง คุณก็ควรไปสำรวจให้ได้อย่างน้อย ครึ่งหนึ่ง คือ 5 แห่งเป็นต้น ประเด็นสำคัญที่คุณจะนำไปใช้ในการตัดสินใจก็คือ ถ้าร้านที่คุณไปพบมานั้น ดีเกินกว่าครึ่งก็แปลว่าใช้ได้ แต่ถ้าส่วนใหญ่ไม่ค่อยดีนัก คุณก็ต้องนำมาคิดกันใหม่
การออกเยี่ยมร้าน เป็นการตรวจเช็คที่ดีที่สุด ที่คุณละเลยไม่ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งถ้าคุณลงมือแล้วคุณจะพบคำตอบที่จริงที่สุด และดีที่สุดได้ด้วยตัวของคุณเอง
ในการทำวิจัยร้านที่มีอยู่แล้วนี้ อาจสร้างความลำบากใจให้คุณอยู่บ้าง ที่ไม่พบตัวเจ้าของร้าน หรือเจ้าของร้านอาจไม่เต็มใจที่จะพูดคุยกับคุณ แต่คุณก็ต้องมีความพยายามหาวิธีการหาข้อมูลที่ต้องการ แต่ถ้าคุณได้เจอคนที่ชอบพูดคุยเกี่ยวกับความสำเร็จของตัวเอง หรือบางคนไม่พอใจบริษัทแม่ พวกเขาก็จะยินดีพูดคุยกับคุณ
อย่างไรก็ตาม มีคำถามสำหรับแฟรนไชซี่ที่คุณควรถาม เพื่อให้คุณ ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ คือ
การลงทุนธุรกิจนี้ คุณใช้ไปเท่าไหร่ ตรงตามที่บริษัทแม่บอกเอาไว้หรือไม่ ?
สินค้าที่คุณขาย ใครเป็นกลุ่มลูกค้า ?
คุณภาพสินค้าที่ขายนี้ ดีไหม ลูกค้านิยมไหม ?
คุณมีลูกค้าต่อวัน ประมาณเท่าไหร่ ?
สินค้าที่บริษัทแม่จัดให้ ส่งทันไหม และเพียงพอหรือไม่ ?
คุณได้รับการอบรมจากบริษัทแม่บ่อยแค่ไหน และอบรมในเรื่องอะไรบ้าง วิธีการอบรมเป็นอย่างไร ?
อะไรคือปัญหาของธุรกิจนี้ ?
บริษัทแม่ มีมนุษยสัมพันธ์ดีไหม ?
คุณพอใจกับแผนการตลาดที่บริษัทแม่ทำให้หรือไม่ และได้ผลดีไหม?
บริษัทเม่ มีการจัดทำคู่มือการทำธุรกิจหรือไม่ และคู่มือนั้นใช่ได้หรือเปล่า?
สินค้าที่ขาย ขายได้ตลอดทั้งปีไหม หรือขายดีเฉพาะบางช่วง ?
คุณเคยมีเรื่องขัดแย้งกับบริษัทแม่หรือไม่ ถ้ามีเป็นเรื่องอะไร และมีทางออกในการแก้ปัญหากันอย่างไร?
ถ้าให้คุณเริ่มใหม่ คุณจะซื้อแฟรนไชส์นี้อีกหรือไม่ เพราะอะไร ?
คุณรู้ไหมว่า ร้านไหนทำรายได้ดีที่สุด และอยู่ที่ไหน ?
คุณทราบไหมว่า มีร้านไหนที่ปิดตัวไปบ้าง เพราะอะไร และอยู่ที่ไหน ?
ลักษณะนิสัยของเจ้าของหรือผู้บริหารแฟรนไชส์นี้ เป็นอย่างไร ?
คุณต้องจ่ายเงิน ให้กับบริษัทแม่ เป็นค่าอะไรบ้าง และจ่ายด้วยวิธีการแบบไหน ?
ร้านของคุณทำกำไรได้หรือไม่ ?
การหาคำตอบว่าร้านได้กำไรเท่าไหร่ คงเป็นเรื่องยากที่จะได้รับคำตอบ แต่ก็เป็นข้อมูลสำคัญยิ่งที่คุณต้องมี ที่จะนำมาใข้ในการตัดสินใจ ถึงแม้ว่าคุณไม่รู้ข้อมูลนี้โดยตรง แต่คุณก็จะสามารถพอจะเมินตัวเลขได้จากการสังเกตุการณ์
เช่น สมมุติว่า เป็นร้านก๋วยเตี๋ยว คุณอาจมีการกดตัวเลขคนเข้าร้าน โดยจ้างเด็กไปแอบนับก็ได้ ถ้าคุณไม่ทำเอง แต่การนับคุณต้อง ใช้ข้อมูลทั้งช่วงวันปกติ และวันเสาร์-อาทิตย์ จากนั้นคุณต้องเฉลี่ยการใช้จ่ายต่อ 1 คนที่เข้าร้าน เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเฉลี่ยต่อคนอาจจะจ่ายที่ 80 บาท/คน คุณก็มาคำนวณ เป็นรายได้ ต่อวัน แต่ต่อเดือนออกมาได้ ส่วนตัวเลขค่าใช้จ่าย เจ้าของร้านอาจจะให้คุณได้ ทีนี้คุณก็จะสามารถประเมินรายได้ต่อเดือนของธุรกิจที่คุณสนใจนั้นออกมาได้ และประเมินตัวเลขออกมาได้ว่า จริงๆแล้วเดือนหนึ่งคุณอาจจะเหลือกี่บาท หรืออาจขาดทุนประมาณกี่บาท
ไม่ยกเลย ที่จะหาข้อมูล ถ้าคุณได้ลงมือทำแบบนี้แล้ว ที่คุณสามารถตัดสินใจที่ถูกต้องได้ด้วยตัวคุณเอง อย่างชนิดที่ไม่มีทางที่ใครจะมาหลอกคุณได้อย่างแน่นอน
อันดับที่ 2 สำรวจตัวเอง
สิ่งที่ผิดมากที่สุดในเรื่องของแฟรนไชส์ก็คือ คนส่วนมากเข้าใจผิดว่า การซื้อแฟรนไชส์ เป็นการเอาเงินมาลงทุน แล้วบริษัทแม่จะต้องช่วยทำให้กิจการนั้นจนได้ผลกำไร โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์คอยรับผลตอบแทน
นี่เป็นเรื่องที่เข้าใจกันมากจริงๆ ทำให้คนตกเป็นเยื่อ ของการระดมเงิน ซึ่งไม่ใช่วิธีการของแฟรนไชส์เลย
คุณต้องจำไว้ว่า การทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น คุณต้องลงมือทำเอง หรือบริหารเองเท่านั้น ธุรกิจจึงจะมีกำไร หลักของแฟรนไชส์ก็คือ การที่กิจการหนึ่งเดยประสบความสำเร็จมาแล้ว และขายระบบงานที่ประสบความสำดเร็จนี้ให้คนอื่นทำบ้าง ดังนั้นการจะทำแฟรนไชส์ให้ได้เงิน จึงขึ้นกับการทำงานตามระบบงาน โดยมีบริษัทแม่เป็นผู้สนับสนุน
ดังนั้น ข้อสำคัญลำดับที่ 2 นี้ก็คือการสำรวจตัวเองว่า คุณมีความพร้อม ความตั้งใจที่ทำธุรกิจนั้นๆหรือไม่ ถ้าคุณไม่อยากทำกิจการนั้นจริง ก็ผิดทางที่คุณจะนำเงินมาลงทุน
อันดับ 3 สำรวจบริษัท
แต่คุณได้ผ่าน 2 ขั้นตอนขั้นต้นมาแล้ว อันดับ 3 ที่คุณก็จำเป็นต้องศึกษา คือ บริษัทแม่ว่า มีตัวตนจริงหรือไม่ กิจการที่อาศัยเรื่องของแฟรนไชส์มาระดมเงิน มีเกิดขึ้นเสมอ กิจการเหล่านั้น มมักเพิ่งก่อตั้งขึ้นมาไม่นาน บางรายไม่มีตัวตนด้วยซ้ำ วิธีการเลือกบริษัท แฟรนไชส์ที่ดี ที่คุณสมควรเข้าร่วมธุรกิจด้วย ควรมีลักษณะดังนี้
-มุ่งหวังเป็นอันดับ 1
แฟรนไชส์ที่คุณเลือกนั้น ควรมีเป้าหมาย ต้องการเป็นผู้นำการตลาด ซึ่งมันจะทำให้คุณได้ประโยชน์ไปด้วย เพราะบริษัทเหล่านี้จะกระตือรือร้นในการทำการตลาด การโฆษณา เพื่อทำให้ได้ส่วนแบ่งการขายสูงสุดของประเทศ โดยมีคุณเป็นช่องทางที่จะช่วยให้ถึงเป้า
-ความชำนาญในธุรกิจ
ความชำนาญในธุรกิจ เป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของคุณด้วย เพราะการซื้อแฟรนไชส์ เป็นการซื้อระบบที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นกิจการที่จะมาขายแฟรนไชส์ได้ ควรต้องช่ำชองในธุรกิจนั้นๆมากพอ จะเห็นว่ามีโรงงานหลายแห่งอยากจะทำแฟรนไชส์ เพื่อเป็นที่ระบายสินค้าของโรงงาน หรือมุ่งหวังยอดขายสูงสุด แม้กิจการนั้นอาจทำธุรกิจโรงงานมายาวนานนับ 100 ปีก็ตาม แต่อาจไม่ได้มีความชำนาญในเปิดร้านค้าปลีกเลย คุณคิดว่า แฟรนไชส์ลักษณะนี้จะสามารถให้คำแนะนำ และมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณได้ได้หรือไม่ และนี่เป็นความเสี่ยงของคุณ ถ้าคุณซื้อแฟรนไชส์นั้น
-อายุธุรกิจ
เพิ่งเปิดร้านมา 1 ปี หรือ 2 ปี ก็ขายแฟรนไชส์แล้ว คือรายชื่อที่คุณควรโยนทิ้งไปเลย เพราะ กิจการที่จะขายแฟรนไชส์ควรมีอายุแก่พอ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะจะทำให้คุณได้รับความรู้จากลองผิด-ลองถูกมาแล้ว นอกจากนี้แล้ว บริษัทที่ขายแฟรนไชส์ควรจะมีระยะเวลาในการขยายร้านสาขาของตัวเอง มาระดับหนึ่งก่อน เพื่อเป็นบทเรียนในการบริหารร้านแฟรนไชส์ได้จริงๆ
-มีอำนาจในการต่อรอง
บริษัทผู้ขายแฟรนไชส์ที่ดี ควรมีอำนาจในการต่อรองได้ดีพอสมควร ที่จะเอื้อประโยชน์ในสิ่งที่คุณทำไม่ได้ อย่างเช่น การเช่าสถานที่ หรือส่วนลดราคาสินค้ากับซัพพลายเออร์ และถ้าถึงขนาดมีเครดิตในการช่วยเหลือคุณในกู้เงินธนาคารก็จะดีมาก บริษัทที่คุณเลือกนั้นควรเป็นบริษัทความน่าเชื่อถือในวงการธุรกิจพอสมควร
-ผู้บริหารมีความสามารถ
ผู้บริหารของบริษัทแม่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของคุณเป็นอย่างสูง ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องการผู้บริหารที่มีความชาญฉลาด มีคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีความสามารถในเรื่องการจัดการร้านสาขา มีธุรกิจจำนวนมาก ขายแฟรนไชส์ได้มากมาย จนเจ้าของงง ไม่รู้ว่าจะบริหารมันต่ออย่างไร สุดท้ายก็ต้องจบไปตามๆกัน คุณอาจจะต้องรู้ประวัติของผู้บริหารบ้างว่า มีประวิติส่วนตัวเป็นอย่างไร ทั้งด้านลักษณะนิสัย และความสามารถในการบริหารธุรกิจ คุณเชื่อมั๊ยว่า แฟรนไชส์ที่ล้มเหลว ส่วนใหญ่ มาจากผู้บริหารเอาเงินไปใช้ผิดประเภท หรือบริหารร้านสาขาไม่เป็น หรือ บริหารกิจการผิดพลาด หรือมีเป้าหมายในการระดมเงิน อย่างที่เราประสบกัน
-มีทีมงานสนับสนุน
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ใด คุณต้องมั่นใจว่า มีทีมงานสนับสนุนร้านเครือข่าย โดยได้รู้ว่า จะมีใครทำหน้าที่อะไรบ้าง อย่างไร คุณจะต้องมั่นใจได้ว่า ทีมงานนั้น มีมนุยสัมพันธุ์ที่ดี มีความพร้อม และมีความเป็นมืออาชีพ
-สินค้ามีตลาด
แฟรนไชส์ที่คุณเลือกนั้น ต้องขายสินค้าที่มีลูกค้านิยมมากพอ และสามารถสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่สินค้าที่ขายได้เฉพาะบางช่วงเวลา ไม่เป็นสินค้าแฟชั่น หรือขายสินค้าที่มีคู่แข่งมากเกินไป
-มีระบบ
แฟรนไชส์ที่ดี ควรมีระบบงานที่ดี หรืออย่างน้อยต้องมีโปรแกรมการอบรม เพื่อถ่ายทอดธุรกิจมาสู่คุณอย่างอย่างง่าย และได้ผล มีการจัดทำคู่มือการทำงาน ในด้านต่างๆ ที่ช่วยให้คุณใช้บริหารงานได้ และมีสายด่วนให้คุณปรึกษาได้ และถ้าแฟรนไชส์ใดไม่มีการจัดทำคู่มือ หรือทำไว้เพียงไม่กี่แผ่น ก็แสดงว่าบริษัทนั้นยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องแฟรนไชส์เลย
-เป็นเจ้าสิทธิ์ ที่ถูกต้อง
ก่อนที่คุณจะลงลายเซ็นต์ คุณต้องแน่ใจว่า บริษัทนั้นเป็นเจ้าของสิทธิ์อย่างถูกต้อง ในกรณีที่ดิจการนั้นซื้อสินค้าจากที่อื่นมาอีกต่อหนึ่ง เช่นร้านสินค้าแบรนด์แนมต่างๆ ที่คุณควรเห็นหลักฐานว่า กิจการนั้นได้รับการอนุญาตการเป็นตัวแทนที่ถูกต้อง ในระยะเวลาใด เพราะถ้าคุณซื้อแฟรนไชส์จากผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของสิทธิ์ที่แท้จริงปัญหายุ่งยากจะตามมา
อันดับ 4 ตรวจสถานะของบริษัท
ไม่ยากที่คุณจะหาข้อมูลเกี่ยวกับฐานะของบริษัทที่คุณต้องการซื้อแฟรนไชส์ คุณสามารถที่จะหาข้อมูลของบริษัทที่คุณต้องการซื้อแฟรนไชส์ได้อย่างง่ายดาย จากการจดทะเบียนบริษัท จากเวปของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อดูว่า บริษัทแฟรนไชส์ที่คุณสนใจ มีใครบ้างเป็นผู้ถือหุ้น ใครเป็นเจ้าของ เจ้าของก็คือผู้ที่เซ็นเอกสารต่างๆ ของทางราชการ และของธนาคารนั่นเอง และทุกปี ทุกบริษัทต้องมีการส่งงบดุล และงบกำไร-ขาดทุน (ยกเว้นกิจการประเภทที่ไม่ต้องจ่ายภาษี เช่น สถานศึกษา เป็นต้น) นี่เป็นหลักฐานที่ดี ที่คุณจะรู้สภาพว่า บริษัทแฟรนไชส์ที่คุณกำลังจะเลือก มีฐานะทางการเงินอย่างไร มีผลการดำเนินงานอย่างไร
อาจมีคนแย้งว่า งบที่ส่งไปนั้น ไม่ใช่ตัวเลขที่เป็นจริง เพราะหลายกิจการมีการเลี่ยงภาษี แต่ข้อมูลเหล่านี้มีหลายส่วนที่บ่งบอกถึงสถานะได้ เช่น จำนวนทรัพย์สิ